หลังจากที่ MThai News ได้นำเสนอกลโกงของ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ไปแล้วทั้ง 4 ตอน ประกอบด้วย “แอบอ้างสำนักงาน ปปง.” “โอนเงินให้เพื่อน..ออนไลน์” “คืนเงินภาษี” และ “ถูกอายัดบัตร” เพื่อแฉพฤติกรรมมิจฉาชีพที่เป็นภัยต่อสังคม พร้อมทั้งเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนระวังภัยก่อนตกเป็นเหยื่อ!
ล่าสุดที่นำเสนอต่อไปนี้ เป็นตอนสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับ “บัตรเครดิต” อีกเช่นกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคนี้..สมัยนี้ “บัตรเครดิต” นั้นเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก เพราะแค่บัตรเล็ก ๆ ใบเดียว ก็สามารถเป็นได้ทั้งบัตรเอทีเอ็มไว้ใช้สำหรับกดเงิน และบัตรเครดิตไว้ใช้รูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
Photographer: Andrey Rudakov/Bloomberg via Getty Images
แต่ใครจะรู้ว่า..สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวงต้มตุ๋นให้เหยื่อหลงเชื่อ จนต้องสูญเงินมาแล้วหลายราย
ทั้งนี้ MThai News จึงนำเสนอการระวังภัย “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ในตอน “หลอกว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต” ซึ่งถือเป็นตอนสุดท้าย โดยพฤติกรรมของมิจฉาชีพแก๊งนี้ จะโทรศัพท์มาหาเหยื่อผู้เป็นเป้าหมาย และแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
พร้อมระบุว่า “คุณเป็นหนี้จากการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า เป็นเงินจำนวนหลายหมื่นบาท หากต้องการตรวจสอบให้ดำเนินการผ่านตู้เอทีเอ็มตามขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่แนะนำ”
และเมื่อเหยื่อตกใจทำตาม มิจฉาชีพจะหลอกถามข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรเครดิต บัญชีเงินฝากธนาคาร
หรือบางรายอาจจะโดนหลอกว่า “คุณถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวไปทำบัตรเครดิต หรือบัตรเอทีเอ็ม ขอให้ไปทำรายการแก้ไขรหัสที่ตู้เอทีเอ็ม เพื่อป้องกันมิจฉาชีพถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก”
หากเหยื่อหลงเชื่อทำรายการตาม ก็เท่ากับว่าถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีของกลุ่มมิจฉาชีพที่เปิดบัญชีรอไว้แล้ว และเงินที่โอนไปก็จะถูกถอนออกไปทันที!!
ดังนั้น หากได้รับโทรศัพท์ในลักษณะดังกล่าว ให้ระมัดระวัง “อย่าหลงเชื่อ” ให้ข้อมูลส่วนตัว หรือไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็มเด็ดขาด เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานใดจะสั่งให้มีการทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม
กรณีเกิดความเสียหายแล้ว ให้รีบแจ้งตำรวจหรือธนาคารที่ใกล้ที่สุด ซึ่งอาจจะสามารถอายัดบัญชีธนาคารของคนร้ายได้ทันเวลา โดยพยายามจดจำหรือรวมรวบหลักฐานต่าง ๆ ที่สำคัญ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนสอบสวน
หากมีข้อสงสัยว่าอาจจะตกเป็นเหยื่อ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ให้โทรศัพท์สอบถามที่ Call Center ของธนาคารที่ท่านมีบัตรหรือบัญชีเงินฝากอยู่
The clincher india video National car renta Homing Developed sanctuary Cambodia Constructed